ศูนย์พระเครื่องจตุคาม

���������������������������������������������������������������������(������������������������������������������) :: เกศทะลุซุ้ม

พระพุทธศรีวิชัยอันนำโชค หรือ พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระประเภทเนื้อผง ผสมด้วยมวลสารหลักชนิดเดียวกันกับ พระผงสุริยัน - จันทรา ดวงตราพญาราหู เป็นวัตถุมงคลเพียงชนิดเดียวที่สร้างขึ้นเป็นรูปพระพุทธรูป แตกต่างไปจากวัตถุมงคลชนิดอื่นของหลักเมือง นครศรีธรรมราช
องค์จตุคามรามเทพ ได้ชี้แนะเห็นควรให้จัดสร้างขึ้น โดยจำลองรูปแบบมาจากพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐาน ณ หอพระพุทธสิหิงค์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2530 ท่าน สรรเพชญ ธรรมาธิกุล เป็นผู้ออกแบบ แกะพิมพ์โดย อาจารณ์มนตรี จันทพันธ์ จำนวนการสร้างประมาณหนึ่งล้านองค์
แบบพิมพ์ มีเพียงพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เดียว แต่บล็อกแม่พิมพ์มีด้วยกันหลายบล็อกทำให้แตกต่างกันไปบ้างในบางจุด โดยมี 2 เนื้อคือ
- เนื้อผง
- เนื้อไม้
และโดยทั่วไปพอจะแยกออกได้เป็น
พิมพ์เกศทะลุซุ้ม ด้านหน้าเกศขององค์พระพุทธสิหิงค์ จะยาวจนทะลุหรือชนกับซุ้ม ส่วนด้านหลังยังแบ่งออกเป็น ราหูทรงเครื่อง กับราหูไม่ทรงเครื่อง โดยสังเกตุดูตัวราหูถ้าทรงเครื่องก็จะดูมีเครื่องทรงเยอะเหมือนใส่เสื้อผ้าและมียอดแหลมบนช่วงไหล่ของราหูทั้งสองข้าง ส่วนราหูไม่ทรงเครื่องก็เหมือนกับตัวราหูไม่ได้สวมเครื่องทรง
พิมพ์เกศบัวตูม ด้านหน้าเกศขององค์พระพุทธสิหิงค์ จะเป็นรูปคล้ายกลีบดอกบัวเรียงกันเป็นชั้นๆ แต่เกศจะไม่ชนหรือทะลุซุ้มส่วนด้านหลังยังแบ่งออกเป็น ราหูทรงเครื่อง กับราหูไม่ทรงเครื่อง โดยสังเกตุดูตัวราหูถ้าทรงเครื่องก็จะดูมีเครื่องทรงเยอะเหมือนใส่เสื้อผ้าและมียอดแหลม ส่วนราหูไม่ทรงเครื่องก็เหมือนกับตัวราหูไม่ได้สวมเครื่องทรง
หมายเหตุ หากแยกลึกลงไปอีกก็จะเห็นว่าพระทัน (นม) ขององค์พระพุทธสิหิงค์จะมีแบบเห็นพระทัน (หัวนม) อย่างชัดเจน กับไม่เห็นพระทัน (หัวนม)
พระพุทธศรีวิชัยอันนำโชค หรือ พระพุทธสิหิงค์ มีกลุ่มโทนสีหลักๆ อยู่ 4 กลุ่มคือ
กลุ่มสีขาว มีทั้งสีขาวล้วน ขาวอมส้ม และขาวอมเขียว
กลุ่มสีดำ ลักษณะเนื้อมี 3 ชนิดคือ แก่ปูน แก่ถ่าน และเนื้อไม้ โทนสีดำสนิท ดำเทา และดำอมน้ำตาล(เนื้อไม้)
กลุ่มสีน้ำตาล มี 2 เนื้อ คือ เนื้อแก่ปูน และเนื้อผสมถ่านกับไม้
กลุ่มสีแดง ในกลุ่มนี้มีหลายโทนสีแตกต่างกันไปเล็กน้อย ในเรื่องความอ่อนแก่ สีพิเศษก็คือ สีเลือดหมู ซึ่งเป็นพระที่ทำช่วงแรกๆ


เนื้อผงดำหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงดำหลังราหูไม่ทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงดำหลังราหูไม่ทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงดำหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงดำหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงดำหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อนำฤกษ์หลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อนำฤกษ์หลังราหูไม่ทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงนำฤกษ์หลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงแดงหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงแดงหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงแดงหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงแดงหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงแดงหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงแดงหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงดำหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงดำหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)


เนื้อผงขาวหลังราหูทรงเครื่อง (ด้านหน้า - ด้านหลัง)

กลับไปบนสุด