ศูนย์พระเครื่องจตุคาม

ดูรายการวัตถุมงคล  

รุ่นมหาปาฏิหาริย์มั่งมีทรัพย์

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

๑.) เพื่อเป็นทุนในการซื้อที่ดิน ของสำนักสงฆ์ป่าคูเมือง จ.ชัยภูมิ เพื่อให้สามารถจัดตั้งเป็นวัดได้ และสร้างถนนตลอดจนเสนาสะต่างๆ

๒.) เพื่อร่วมสมทบทุนสร้างวิหารหลวงพ่อขาว วัดดอนกระต่ายทอง อ.ไชโย จ.อ่างทอง

๓.) ร่วมสมทบทุนในการสร้างหอสงฆ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เพื่อเป็นสถานที่ดูแลภิกษุสงฆ์ที่อาพาส โดยให้ถูกต้องตามพระวินัย

๔.) เพื่อสมทบในการสาธารณกุศลและบำรุงเสนาสนะต่างๆ ถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา และ ถวายกุศลแด่ องค์จตุคามรามเทพ ตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์

คติที่มาของในการออกแบบ หากย้อนกลับไปเมื่อครั้งเริ่มสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชในราวปี ๒๕๒๘-๓๒ วัตถุมงคลชิ้นแรกที่มีการจัดสร้างนั่นก็คือ เศียรองค์พ่อ ที่ถอดแบบจากบานประตูไม้ที่ทางขึ้นพระบรมธาตุฯที่วิหารทรงม้า โดยทำการหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์ขึ้นซึ่งเป็นรูปต้นแบบของการแกะสลักยอดเสาหลักเมืองตามที่องค์พ่อได้บอกกล่าวในครั้งนั้น เมื่อทำการหล่อต้นแบบแล้วได้นำไปให้องค์พ่อดู ปรากฏว่าท่านได้นำรูปหล่อปูนปลาสเตอร์นั้นเข้าไปกอดและพูดว่า แต่ก่อนมีเพชรนิลจินดาประดับอยู่เต็มไปหมด แต่พวกมันมาเอาของกูไปจนไม่เหลือ (จากข้อเขียนของคุณสุวัฒน์ เหมอังกูร) สำหรับรูปบานประตูไม้แกะสลัก ที่วิหารทรงม้า ภายในวัดพระบรมธาตุฯ บานที่นำมาถอดแบบหล่อปูนปลาสเตอร์นั้น ลักษณะรูปแบบคือมี ๒ เศียร ๔ กร ถืออาวุธ ๔ อย่างคือ ตรี จักร ไม้เท้าหรือคันศร และสายประคำ ในทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นงานปฏิมากรรมแกะสลักที่มีลักษณะผสมระหว่างคติทางพราหมณ์บางคนก็ว่าเป็นพระนารายณ์และคติทางพุทธมหายานซึ่งเป็นรูปนิรมานกายของพระโพธิสัตว์ที่มีลักษณะเป็น ๒ เศียร หรือเป็นร่างแปลงธรรมตัวแทนแห่งการรวมกันเป็นหนึ่งของท้าวจัตตุคาม และ ท้าวรามเทพ จึงเกิดเป็นลักษณะ ๒ เศียร ๔ กร แต่มีเพียงสองเท้า เพื่อสื่อแสดงถึงความเป็นเทวะตามอย่างคติทางพราหมณ์ แม้แต่การสร้างพระผงสุริยันจันทราหรือน้ำตาลแว่นอันโด่งดังนั้น หากสังเกตให้ดีจะพบว่าได้นำรูปบานประตูไม้แกะสลักดังกล่าว ทำเป็นรูปองค์พ่อนั่งชันเข่าเป็นประธานอยู่ท่ามกลางวัฎจักรนักษัตร ๑๒ ราศีและรายล้อมด้วยพระราหู ๘ ตน จากรูปแบบดังกล่าวทางคณะผู้สร้างเล็งเห็นถึงความสำคัญของรูปลักษณ์นี้ จึงนำมาเป็นต้นแบบเค้าโครงหลักของการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น มหาปาฏิหาริย์ มั่งมีทรัพย์ โดยอ้างอิงเข้ากับศิลปะศรีวิชัยอันเป็นศิลปะแห่งดินแดนอาณาจักรทะเลใต้ ซึ่งเชื่อว่า “องค์จตุคามรามเทพ” เป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจแผ่ไพศาลปกครองในดินแดนแห่งนี้

รูปแบบลักษณะ ด้านหน้า – เป็นรูปองค์จตุคามรามเทพปางมหาปาฏิหาริย์ ๒ เศียร ๔ กรถืออาวุธครบ ด้วยรูปแบบศิลปะศรีวิชัยประทับนั่งบนดอกบัวอันแสดงถึงความเป็นพระโพธิสัตว์ มีพญานาคราช ๕ เศียร ปกป้องเพื่อคอยอารักขา ด้านล่างเป็นเกลียวคลื่นน้ำหมายถึงดินแดนแห่งทะเลใต้คืออาณาจักรศรีวิชัยนั่นเอง ฝ่าเท้าขององค์พ่อเหยียบลงบนตัวพญานาคบ่งบอกถึงการทรงอำนาจบารมีอันยิ่งใหญ่เหนือแผ่นดินแผ่นน้ำ ด้านหลังองค์พ่อคือก้อนเมฆหมายถึงท้องฟ้า รวมความแล้ว คือ องค์จตุคามรามเทพ บารมีแผ่ไพศาลทั่วพื้นฟ้าจรดแผ่นน้ำ ทรงมหาปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่เหนือฟ้าเหนือดิน ด้านหลัง – เป็นรูปดวงตราพญาราหู ๘ ตน ประจำในทิศใหญ่ทิศน้อยทั้ง ๘ ทิศ หรือ ความหมายอีกนัยหนึ่งคือนามวันทั้ง ๘ เพื่อคอยกลืนกินสิ่งไม่ดีเคราะห์ร้ายทั้งหลายคอยปกป้องอันตรายทั้ง ๘ ทิศ ไม่ให้กล้ำกลายเข้ามา รายล้อมอยู่รอบวัฏจักรนักษัตร ๑๒ ราศี อันเป็นสัญญลักษณ์แห่งนามปี คือ ความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองขึ้นในทุกๆปี และมีเม็ดประคำจำนวน ๓๒ เม็ด หมายความถึงอาการวัตรทั้ง ๓๒ ประการ คือความบริบูรณ์ของอาการ ๓๒ ไร้โรคาพยาธิ ตรงกลางเป็นรูปพระบรมธาตุฯอันเป็นสัญญลักษณ์ที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนาและเมืองนครศรีธรรมราช ใจกลางปรากฏเป็นยันต์อักขระ ๓ ตัว คือ หัวใจธรณี หัวใจมนุษย์ หัวใจฟ้า นับเป็นปฐมอักขระแห่งยันต์ของพระสายจตุคามรามเทพก็ว่าได้ ซึ่งถือเป็นยันต์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งตามคติธรรมของชาวศรีวิชัยแต่ครั้งโบราณและสถิตย์อยู่ด้านหลังของพระผงสุริยันจันทรา รวมถึงพระพุทธสิหิงค์ที่สร้างในปี ๒๕๓๐ ระหว่างพระราหูจะมีอักขระอุณาโลม นับเป็นการรวมเอาคติธรรมทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์อันลึกซึ้งของชาวชวากะ ให้เข้ารวมกันอย่างกลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียว

นอกจากนี้ยังมีมวลสารต่างๆอีกมากมายหลากหลายชนิดได้รับความเมตตาจากท่านผู้ใหญ่หลายท่านที่มอบมวลสาร ต่างๆเพื่อใช้ในการจัดสร้างพระในครั้งนี้โดยมีรายละเอียดของมวลสารดังต่อไปนี้ 1. ผงจิตรลดา ( กำลังแผ่นดิน ) ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยสมเด็จพระญาณสังวรฯทรงประทานแก่ ท่านเจ้ากรมสื่อสาร ทหารอากาศ พล.อ.ท. จิโรจน์ ฉายะพงษ์ เพื่อจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ ส.ทอ. 2. ผงข้าวที่เหลือจากการเสวยและดอกไม้บูชาพระของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนิน ณ.วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่ 3. ผงธูปที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 4. ผงพระพุทธสิหิงค์ของกรมการสื่อสารทหารอากาส พิธี ๖๐ ปี ธรรมศาสตร์ ณ. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 5. ผงอธิษฐานจิตจาก ๖๐๐ คณาจารย์ ในงานพิธีสมโภชน์ ๖๐๐ ปี เจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ 6. ผงพระธาตุ ๕๐๐ อรหันต์ จากถ้ำตับเตา จ.เชียงใหม่ 7. ผงพระธาตุพระสิวลีและพระอรหันตสาวก 8. ดินสังเวชนียสถานทั้ง ๔ จากชมพูทวีป 9. ผงวิเศษจากถ้ำพระธรรมมาสน์ จ.พิษณุโลก 10. ผงตะไบแผ่นทองชนวนพระพุทธสิหิงค์ ส.ทอ. จากพระคณาจารย์ ๑๔๐ รูป ทั่วประเทศ อาทิ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ หลวงพ่ออุตตมะ กาญจนบุรี 11. ผงว่าน ๑๐๘ ชนิด 12. ผงว่านยาจากการสร้างพระกลีบบัว ของ หลวงปู่หล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่ 13. ผงพุทธคุณทั้ง ๕,ผงสูรย์-จันทร์,ผงสูญนิพพาน และผงมหาจักรพรรดิ ของ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา 14. ทรายเสก ๘ พิธีมหาพุทธาภิเษก 15. ผงว่าน ๑๐๘ และดินกากยายักษ์ ของ ครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง จ.เชียงใหม่ 16. ข้าวสารดำ และ ข้าวสารหิน 17. ผงดินถ้ำบาดาล ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 18. ผงธูปและดอกไม้บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ 19. ผงธูปและดอกไม้บูชาพระ , วิหารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา 20. ผงธูปและดอกไม้บูชาพระหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา 21. ผงก้นกรุ จ.พระนครศรีอยุธยา 22. ปูนองค์พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ 23. ดินพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ 24. ผงธูปและดอกไม้บูชาพระ ณ.วิหารสมเด็จพระพุทธาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ 25. ผงเศษหยก , เครือสาวหลง , กะลาตาเดียว 26. ผงธูป , ผงทอง และดอกไม้ ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี 27. ผงธูป ในวิหารพระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ จ. เชียงใหม่ 28. ผงฤาษีพนมไพร อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด 29. ผงไม้งิ้วดำ , กาหลงรัง 30. แร่เหล็กไหล , หินเขี้ยวหนุมาน 31. ผงเกษรดอกไม้มงคล 32. ผงชนวนพระกริ่งวัดชิโนรส กรุงเทพฯ 33. ผงธูปและปฐวีธาตุ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดพระธาตุมหาชัย จ.นครพนม 34. ผงระฆังเงิน ขุดพบในกรุวัดร้าง จ.พระนครศรีอยุธยา 35. ผงวัดสามปลื้ม , ผงพระวัดปากน้ำรุ่น ๑ , ๒ , ๓ , ๔ 36. แป้งเสก หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี 37. ผงกาฝากทั้ง๙ อาทิ มะรุม , มะยม , รัก , คูณ ฯลฯ 38. ผงยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อปาน สุนันโท วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา 39. ผงอิทธะเจ หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ 40. ผงพุทโธ หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี 41. ผงพุทธคุณ หลวงปู่รุ่ง วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี 42. ผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง 43. ผงญาณวิลาศ หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี 44. ผงพระกรุสมเด็จสังฆราช ( สุก ไก่เถื่อน ) 45. ผงพระกรุวัดเงิน คลองเตย กรุงเทพฯ 46. ผงพระโคนสมอเนื้อดิน 47. ทรายทองคำพระธาตุพนม จ.นครพนม 48. ผงกรุทับข้าว จ.สุโขทัย 49. ผงพระรอด , พระคง วัดมหาวัน จ.ลำพูน 50. ผงกรุนาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม 51. ผงยาจินดามณี หลวงปู่บุญ , หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม 52. ผงบ่อดินเทวดา และผงวิเศษ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดอรัญญวิเวก จ.นครพนม 53. ผงพระ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดใหม่เสนานิคม กรุงเทพฯ 54. ดินกากยายักษ์ , ดินที่ฝังรกและผงธูป หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี 55. ชันนะโรงใต้ฐาน พระเสตังคมุณี ( พระแก้วขาว ) วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ 56. ผงพระวัดป่าชัยวัน จ.ขอนแก่น พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวันและพระกรรมฐานกว่า ๑๐๐ รูป อธิษฐานจิต 57. ยาเส้น หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา 58. ข้าวก้นบาตรหลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร 59. ผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ชำรุดเมื่อคราวเปิดกรุ พ.ศ. ๒๕๐๐ 60. ผงแป้งเสกและน้ำมันจันทร์ หลวงปู่หล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่ 61. ผงแป้งเสกหลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ 62. ผงพุทธคุณทั้ง ๕ หลวงปู่เลี้ยง สุชาโต วัดหนองเต่า จ.ลพบุรี 63. ผงพุทธคุณล้วน หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท 64. พลอยเสกและทับทิมเสก หลวงปู่เกษม เขมโก , หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา , ฯลฯ 65. น้ำมนต์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา 66. น้ำมนต์หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี 67. น้ำมนต์ ๑๐๘ วัด 68. น้ำอบไทยเสก หลวงปู่เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง 69. น้ำมันว่าน ๑๐๘ ชนิด ปีพ.ศ. ๒๕๒๘ วัดหนองแวงเมืองเก่า จ.ขอนแก่น 70. น้ำมันชาตรี หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี 71. น้ำผึ้งเสาร์ ๕ 72. ไคลเสมา , ดินโบสถ์ วัดทรายขาว จ.ปัตตานี 73. สีผึ้ง หลวงปู่หล้า (ตาทิพย์) , หลวงปู่ดู่ , หลวงปู่จันทร์โสม 74. ดินใจกลางประเทศซึ่งหลวงปู่ทวดเคยมาพักจำพรรษา ณ.วัดราชานุวาส จ.พระนครศรีอยุธยา 75. ข้าวสารเสก ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร วัดพระธาตุดอนเรือง ประเทศพม่า 76. ทรายเสก ลหวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี 77. ลูกแก้วมณีนพรัตน์ , สายสิจญ์เปิดโลก , กระจกโลงแก้ว หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา 78. หมากพูล และไม้โลง หลวงพ่อสนธิ์ วัดไทรย์ จ.อ่างทอง 79. ดอกไม้บูชา หลวงปูเลี้ยง สุชาโต วัดหนองเต่า จ.ลพบุรี 80. ผงศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่กอง จันทวังโส วัดสระมณฑล จ.พระนครศรีอยุธยา 81. อิฐเจดีย์ยุทธหัตถี อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี 82. อิฐพระสถูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองงาย จ.เชียงใหม่ 83. อิฐพระสถูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองหาง ประเทศพม่า 84. ผงพระที่แตกหักชำรุดอีกมากมายจากหลายสำนัก อาทิ เจ้าคุณนรฯ , หลวงปู่ขาว , หลวงพ่อตาบ , ฯลฯ

ภาพพิธีกรรม