ศูนย์พระเครื่องจตุคาม

ดูรายการวัตถุมงคล  

หลักเมืองรุ่นพิเศษ (9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์)



9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์ (หลักเมืองรุ่นพิเศษ) วัดหน้าพระธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

 

ผงยาวาสนามมหาจินดามณี โอสถอันพิลาศ เลิศล้ำตำราในโลกแผ่นดิน ผู้ใดบูชาจะสวัสดิ์โกภิณกว่าคนทั้งหลาย พัสดุเงินทองจักพูนกูลนองกว่าโลกหญิงชาย นำมาบูชาอภิวาทถ์มิวาย ระงับอันตรายทั้งสี่กริยา โทษหนักเท่าบาตร มาตรแม้นประจักษ์ถึงกาลมรณา ถ้าแม้นบูชาซึ่งยาวาสนา กลับน้องถอยครา เคลื่อนคลายหายเอย



พิมพ์ทรงสวยงาม มวลสารสรรค์เลิศล้ำ พิธีกรรมเข้มขลังอลังการ นับเป็นวัตถุมงคลที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญถึงความเพียบพร้อมสมบูรณ์ในทุกๆ ด้านที่สุดยอดวัถุมงคล พึงมีพึงกระทำอันจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชาสักการะ

- รูปแบบพิมพ์ทรง กล่าวได้ว่าในการจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อกุศลเจตนาโดยคุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช ทุกครั้งทุกรุ่นจะได้รับการยกย่องกล่าวขานในด้านศิลปะอันงดงามและในรุ่น 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์ (หลักเมืองรุ่นพิเศษ) ก็เช่นกันที่ได้สรรค์สร้างอย่างงดงามยิ่งทุกแบบทุกพิมพ์มีความละเอียดลออประณีตพิถีพิถันทุกสรรพสิ่งที่ปรากฏในองค์วัตถุมงคล การนำรูป จำลองศาลหลักเมืองประทับไว้เพื่อบ่งบอกถึงคุณค่าความเป็นวัตถุมงคล “หลักเมืองรุ่นพิเศษ” อย่างสมบูรณ์

- ชนวนมวลสาร หัวใจสำคัญในการจัดสร้างวัตถุมงคงให้บังเกิดความเลิศล้ำ สิ่งที่ไม่อาจละเลยมองข้ามได้ก็คือการแสวงหามวลสารศักดิ์สิทธิ์มาผสมผสานลงในเนื้อหาดังเช่นรุ่น 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์ (หลักเมืองรุ่นพิเศษ นี้ได้มีความวิริยะอุตสาหะแสวงหามวลสารมากมายมาเป้นส่วนผสม นอกเหนือจากมวลสารหลักคือผงมวลสารว่าศักดิ์สิทธิ์นับร้อยนับพันชนิดของ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งต่อมาได้บังเกิดเป็นมวลสาร ของวัตถุมงคลหลายรุ่นผ่านพิธีประจุพุทธาคมทับถมกันครั้งแล้วครั้งเล่าจนทุกวันนี้ อาทิรุ่น ขุนพันธ์พุทธาคมเขาอ้อ รุ่นมงคลจักรวาล พุทธาคมเขาอ้อ รุ่นเจ้าสัวเบตง รุ่นบูรณะหลักเมืองนครศรีฯ 2547 รุ่นพุทธศิลป์ย้อนยุค วันนาสน รุ่นไตรภาคีศรีนคร วัดนางตรา รุ่นพุทธามหาเวท วัดศาลาไพ รุ่นพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง วัดหน้าพระบรมธาตุ ซึ่งล้วนแล้วแต่นำมวลสารมาผสมในรุ่นนี้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังได้แสวงหามวลสาระสำคัญย้อนรอยตำนานหลวงพ่อทวด หลายแห่งที่มีความเกี่ยวพันกับท่านอันมีมวลสารจากวัดช้างให้ วัดพะโค๊ะ วัดดีหลวง วัดสีหยัง วัดโพธิเจติยาราม มาเลเซีย สำนักสงฆ์ต้นเลียบ นาเปล ศาลาหลวงพ่อทวดท่าแพ วัดเสมเมือง วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร วัดหัวลำภูใหญ่ ศาลาหลวงพ่อทวดบ้านโกฏ วัดเขาอ้อ วัดแค อยุธยา และที่เลิศล้ำสำคัญยิ่ง คือมวลสารพระผงพระพุทธชินราช ภ.ป.ร. ซึ่งมีส่วนผสมของผงพระเบญจภาคี และผงในหลวงพระราชทาน คือ ผงจิตรลดา



-พิธีกรรมมหามงคล นับเป็นความยิ่งใหญ่อลังการซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน ในประวัติศาสตร์การจัดสร้างวัตถุมงคลในเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะองค์ท้าวจตุคาม และท้าวรามเทพ แม้กระทั่ววัตถุมงคลหลวงพ่อทวด ซึ่งในการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์ (หลักเมืองรุ่นเศษ) อันทรงคุณค่าครั้งนี้ได้มุ่งมั่นประกอบพิธีรวม 9 วาระมหามงคล เพื่อให้บังเกิดความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ชนิดมิอาจประมาณได้ นอกจากเนื้อหาภายในจะมีความศักดิ์สิทธิ์ทุกอนุเนื้อ ภายนอกยังได้เคลือบทัพพลังพุทธาคมอย่างเข้มทรงพลังหลายวาระ ซึ่งจะส่งผลให้วัตถุมงคล รุ่น “9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์” (หลักเมือง รุ่นพิเศษ) นี้บรรลุถึงความเป็นวัตถุมงคลกฤตยาคมแฝด ซึ่งโบราณจารย์เรียกขานกันว่าดีตั้งแต่เนื้อในยันผิวนอก เข้มขลังไม่มีวันเสื่อม

วาระที่ 1 ได้ประกอบพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณหลวงพ่อทอด เมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 08.19 น. ณ ศาลาหลวงพ่อทวด วัดท่าแพ (สถานที่ซึ่งหลวงพ่อทวดผูกแพกลางน้ำเพื่ออุปสมบท)



วาระที่ 2 ได้ประกอบพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณหลวงพ่อทวด เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 13.19 น. ณ ศาลาหลวงพ่อทวด วัดเสมาเมือง (สถานที่ซึ่งหลวงพ่อทวด เมื่อครั้งเป็นสามเณร ได้มาศึกษาพระธรรมวินัย)

วาระที่ 3 ได้ประกอบพิธีบวงสรวงขออนุญาติ หน้าสถูปเจดีย์ ณ วัดช้างให้ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2547

วาระที่ 4 ประกอบพิธีบวงสรวงปลุกเสกปรุงยาวาสนามหาจินดามณีต่อหน้าเบื้องพระพักตร์องค์พระพุทธปฏิมาโดยพระอาจารย์สมพงษ์ วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร เป็นเจ้าพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์ และอาจารย์ เอกวิทย์ ยอดระบำ ศิษย์เอก พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธีกรรมฝ่ายฆราวาส ณ วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 20 มีนาคม 2549



วาระที่ 5 ประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดา เปิดพิมพ์พระผงยาวาสนามหาจินดามณีนำฤกษ์ และเททอง รูปเหมือนหลวงพ่อทวดนำฤกษ์ รวมทั้งเททองโลหะชนวนทุกเนื้อคือ ทอง นาก เงิน นวโลหะ ฝ่าบาตร ทองแดง เพื่อนำชนวนเนี้อไปจัดสร้างเหรียญ ทุกแบบพิมพ์ (เป็นการปลุกเสกเนื้อใน) ณ วัดหน้าพระบรมธาตุ ในวันที่ 23 มีนาคม 2549

วาระที่ 6ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเป็นปฐมฤกษ์ ณ ศาลหลักเมือง จ.นครศรีธรรมราช ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2549

วาระที่ 7 ประกอบพิธีปลุกเสกกลางทะเล ที่ปากน้ำชุมพร สถานที่ซึ่งหลวงพ่อทวดจุ่มเท้าเหยียบ น้ำทะเลจืด ในวันที่ 4 มิถุนายน 2549

วาระที่ 8 ประกอบพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษก ณ สำนักวัดเขาอ้อ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2549

วาระที่ 9 ประกอบพิธีบวงสรวงสมโภชพุทธาภิเษกกลางหาว รับแสงสุริยันจันทรา ณ วัดหน้าพระบรมธาตุ ในวันที่ 10 มิถุนายน 2549 เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าปัจจุบันนี้วัตถุมงคลที่นับเป็นสุดยอดแห่งเมืองทักษิณที่มีผู้แสวงหากันอย่างกว้างขวางในค่านิยมที่สูงยิ่ง คือ พระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านพิมพ์เตารีด ปี 2497 หรือ แม้กระทั่งพิมพ์อื่นๆ ซึ่งสร้างในลำดับต่อมายุคสมัย พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ สำหรับวัตถุมงคลในยุคหลังไม่ถึงยี่สิบปีที่กำลังโด่งดังค่านิยมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีผู้ศรัทธา เสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวางคือ พระผงสุริยัน จันทราท้าวจตุคาม-ท้าวรามเทพ ปี 2530 และเหรียญพระปิดตาพังพะกาฬ ปี 25322532 วัตถุมงคลหลักเมือง ที่ค่านิยมระดับ หลักแสนบาท ในปัจจุบัน ทั้งองค์ ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ พังพะกาฬ และหวงพ่อทวดต่างมีผู้ศรัทธาเคาพรพบูชาขนานนามท่านว่า “พระโพธสัตว์แห่งอาณาจักรทะเลใต้” วัตถุมงคลทรงคุณค่า รุ่น “ 9 รอบ 9 พิธี 108 ท่านขุนพันธ์” (หลักเมืองรุ่นพิเศษ) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญประการนี้จึงได้จัดสร้างย้อนตำนานวัตถุมงคลสามพระโพธิสัตว์ผู้มากด้วยบุญญาบารมี ด้วยความพิถีพิถันให้ทรงคุณค่าเปี่ยมไปด้วยความเลิศล้ำเข้มขลัง ทรงอิทธิอานุภาพ อันจะนำพาไปบูชาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลได้อย่างสนิทใจ

พระผงสุริยันจันทราท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ ขนาด 5 ซ.ม.





พระผงสุริยันจันทราท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ ขนาด 3.2 ซ.ม.





พระโพธิสัตว์ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ ถึงแม้ในห้วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาจะมีการสร้างวัตุมงคลรูปองค์ ของท่านกันมากในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันตามความเชื่อถือ หากแต่ในการจัดสร้างโดยคุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช ซึ่งเป็นผู้กำหนดรูปแบบพิมพ์ทรงและในด้านพิธีกรรม จะยึดมั่นตามหลักฐานที่ปรากฏในวิหาร พระทรงม้า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร คือ จะต้องครบถ้วนทั้งสองพระองค์ ตามพระนามที่ปรากฏ คือท้าวจัตตุคาม และท้าวรามเทพ ทั้งพระผงและเหรียญในรุ่น “9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์” (หลักเมืองรุ่นพิเศษ) ก็ยังคงเป็นไปตาม เจตนาเดิมโดยด้านหลังได้อัญเชิญ องค์ท้าวจตุคามและองค์ท้าวรามเทพ ในลักษณะครึ่งพระองค์ภายในกลีบบัวลายไทยประทับสลับกัน โดยมีรูปศาลหลักเมืองจำลองอยู่กึ่งกลางพร้อมด้วยศาลาจตุรทิศครบถ้วนตามสถานที่จริง พร้อมทั้งมีอักษรจารึกไว้ว่า “หลักเมืองรุ่นพิเศษ” นอกจากนี้ยังได้มีการจัดสร้างเหรียญเศียรเจ้าพ่อหลักเมือง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเหรียญแสตมป์ขึ้นด้วยอีกหนึ่งพิมพ์ โดยกำหนดให้เป็นยันต์กลับเพื่อกลับร้ายให้กลายเป็นดี กลับดีให้ทวียิ่งขึ้น



พระโพธิสัตว์พังพะกาฬ ตำนานพังพะกาฬ เล่าขานกันว่าเมื่อราวแปดร้อยปีก่อนในนครตามพรลิงค์ พังพะกาฬได้ถือกำเนิดขึ้นในตระกูลชาวนาที่ยากจน ขณะยังเป็นทารกแบเบาะ พ่อแม่ได้ออกทำนาโดยผูกเปลไว้โคนต้นไม้ ขณะทำนาอยู่ไม่ไกลได้เห็นงูจงอางตัวใหญ่กำลังขดตัวพันรอบเปล อารามตกใจจึงได้ตะโกนเสียงดังขับไล่งูจงอางใหญ่จึงได้เลื้อยหนีหายไป พ่อแม่จึงได้รีบวิ่งมาดูปรากฏว่าทาราน้อยพังพะกาฬ ยังหลับอยู่แต่อัศจรรย์ที่ข้างตัวมีลูกแก้วแวววาวอยู่หนึ่งลูก จึงเชื่อว่างูจงอางตัวนั้นแท้ที่จริงเป็นงูเทวดาคาบแก้วมาให้ พังพะกาฬเจริญวัยด้วย สติปัญญาที่เหนือเด็กทั่วไปสนใจใฝ่ศึกษาวิชาคาถาอาคมแสดงอิทธิฤทธิ์ให้เห็นเป็นประจักษ์อยู่บ่อยๆ ครั้งหนึ่งเคยเล่นต่อสู้กับเพื่อนๆ ปรากฏว่าพังพะกาฬ ได้ใช้ดาบไม้ภาเขฟันคอเพื่อนจนขาดกระเด็นโดยไม่ได้ตั้งใจ ความเก่งกล้าสามารถของพังพะกาฬทำให้ต่อมาในวัยหนุ่มได้เป็นแม่ทัพขุนศึกคู่บรรลังค์ของพระเจ้าจันทรภาณุ ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งนครตามพรลิงค์ที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักศรีวิชัย ในปี 1773 พระเจ้าจันทรภาณุ ได้สลักศิลาจารึกประกาศเอกราช ทำให้กองทัพศรีวิชัยยกกำลังเข้ารุกรานเพื่อไม่ให้แข็งข้อ พระเจ้าจันทรภาณุ พร้อมด้วย พังพะกาฬ ขุนศึกคู่ใจได้ร่วมกันต่อสู้อย่างไม่กริ่งเกรงเสียขวัญ ขุนศึกพังพะกาฬ ได้ขึ้นไปบนยอดเขาร่ายเวทสาธยายมนตรากวัดแกว่งดาบอย่างคล่องแคล่ว ด้วยอิทธิฤทธิ์ปรากฏว่าเหล่าทหารศรีวิชัยคอขาดกระเด็นเป็นทิวแถววันละหลายสิบคนด้วยแสนยานุภาพแห่งกองทัพพระเจ้าจันทรภาณุ ด้วยมหาเวทมนตราของขุนศึกพังพะกาฬ ในที่สุดกองทัพศรีวิชัยก็พ่ายแพ้ถอยร่นหมดทางสู้กลับสู่ศูนย์กลางอาณาจักรที่เกาะสุมาตราแล้วอาณาจักรศรีวิชัยที่รุ่งเรื่องมานับพันปีก็ถึงกาลลมสลาย พระเจ้าจันทรภาณุและพังพะกาฬ ขุนศึกคู่ใจได้แผ่ขยายอำนาจยึดเมือรอบข้างต่างๆ ได้และต่อมาตั้งเป็นเมืองสิบสองนักษัตร โดยมีตามพรลิงค์ หรือนครศรีธรรมราชเป็นเมืองศูนย์กลาง

เหรียญพระโพธิสัตว์พังพะกาฬ





เหรียญปิดตาพระโพธิสัตว์พังพะกาฬ หลักเมือง สร้างขึ้นในปี 2532 โดยมี พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธีกรรมประกอบพิธีปลุกเสกที่สำนักวัดเขาอ้อ ปัจจุบันเป็นที่นิยมเสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวางในค่านิยมสูงระดับหลักแสนบาท และถึงล้านบาท เป็นเหรียญทองคำ ล่าสุดเหรียญทำเทียมเลียนแบบฝีมือเฉียบขาดระบาดไปทั่ว ดังนั้น เหรียญปิดตาพระโพธิสัตว์พังพะกาฬ ซึ่งจัดสร้างเนื่องในวาระ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดชมีอายุครบ 9 รอบ 108 ปี จึงมีคุณค่าแก่การบูชาสักการะเพราะนอกจากจะประกอบพิธีหลายวาระรวมทั้งสถานที่เดิมคือ ศาลหลักเมืองและสำนักวัดเขาอ้อ เป็นการย้อนรอยอดีตและประการสำคัญคือ ได้นำรูปศาลหลักเมืองจำลองประทับไว้ด้านหลังด้วยบ่งบอกถึงความเป็น “หลักเมืองรุ่นพิเศษ” อย่างสมบูรณ์

พระผงสุริยันจันทราหลวงพ่อทวด ขนาด 5 ซ.ม.





เหรียญสุริยันจันทราหลวงพ่อทวด ขนาด 3.2 ซ.ม.





พระโพธิสัตว์หลวงพ่อทวด นับเป็นเรื่องแปลกแต่จริง ที่เรื่องราวตำนานของพระโพธิสัตว์พังพะกาฬ และพระโพธิสัตว์หลวงพ่อทวด ซึ่งห้วยระยะเวลาห่างกันราวสี่ร้อยปีจะมีความคล้ายคลึงกันอย่างยิ่ง ในสมัยเป็นเด็กทารกนอนเปลที่มีงูจงอางพันรอบเปลแล้วคายแก้ววิเศษให้ หลวงพ่อทวดมีนามเดิมว่าปู พ่อแม่ฐานะยากจน เมื่อคลอดทารกน้อยก็ได้นำรกไปฝังไว้โคนต้นเลียบ ต่อมาจึงได้นำบุตรชายมาฝากไว้ให้ สมภารจวง วัดดีหลวง อบรมสอนสั่งสอนจนกระทั่งได้บวชเป็นสามเณรจากนั้นสมภารจวงก็ได้นำสามเณรปูไผฝากไว้กับพระครูสัทธรรมรังสี วัดสีหยัง เพื่อเรียนมูลกิจจายน์ สามเณรปูมีความเฉลียวฉลาด จึงเรียนได้รุดหน้าจนจบหลักสูตรของสำนัก แต่ด้วยความมุ่งมั่นสามเณรปู จึงได้กราบลาพ่อแม่ครูบาอาจารย์เพื่อเดินทางมาศึกษาต่อที่สำนักพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง จ.นครศรีธรรมราช จนกระทั่งอายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุด้วยการนำเรือมาดตะเคียนหนึ่งลำ เรือมาดพะยอมหนึ่งลำ เรือมาดยางหนึ่งลำ มาขนานผูกทำเป็นแพเพื่อทำญัติในคลองหน้าท่าเรือ (ปัจจุบันเรียกว่าคลองท่าแพ) เมื่ออุปสมบทแล้วได้ฉายาสามีราโมหรือเจ้าสามิราม และยังศึกษาร่ำเรียนต่อจนจบหลักสูตรจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมคือเมืองสทิงพระ


พระหลวงพ่อทวดลอยองค์

 

พิมพ์บัวรอบ





พระหลวงพ่อทวด

 

พิมพ์เตารีด




ด้วยสามัญสำนึกแห่งการใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาต่อมาเจ้าสามิราม ก็ได้อาศัยเรือสำเภาของนายอินทร์ซึ่งจะเดินทางไปราชธานีกรุงศรีอยุธยา เพื่อศึกษาพระธรรมให้แตกฉานจนกระทั่งเรือสำเภาได้แล่นมาถึงนครศรีธรรมราช จึงจอดเทียบท่าที่คลองท่าแพ สถานที่ ๆ ซึ่งท่านได้อุปสมบท แล้วจึงเดินทางเข้าเมืองเพื่อกราบสักการะพระบรมธาตุเจดีย์ จากนั้นเรือสำเภาก็ได้ออกจากท่ามุ่งหน้าต่อไปจนกระทั่งถึง ปากน้ำชุมพร ก็ได้เกิดมรสุมพายุฝนตกหนักเรือสำเภาไม่สามารถฝ่าคลืนลมไปได้ จึงต้องลดใบทอดสมอลอยนิ่งอยู่กลางทะเลถึงเจ็ดวัน เจ็ดคืน ครั้นพอคลืนลมสงบทุกคนบนเรือก็ประสบกับความเดือดร้อนเพราะขาดน้ำจืดดื่มกิน นายอินทร์โมโหโกรธายิ่งนักเพราะไม่เคยประสบเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน จึงโทษเจ้าสามิรามว่าเป็นต้นเหตุแห่งเพทภัยแล้วให้ลูกเรือนำเจ้าสามิรามลงเรือเล็กหมายจะให้ไปส่งบนฝั่ง เมื่อเจ้าสามิรามลงมาอยู่ในเรือเล็กแล้วได้ยกมือพนมตั้งจิตอษิษฐานจากนั้นจุ่มเท้าซ้ายลงในทะเลปรากฏเป็นรัศมีเจิดจ้าวงกว้างเท่าล้อเกวียน เจ้าสามิราม จึงให้ลูกเรือวักน้ำขึ้นดื่มกินทุกคนโห่ร้องยินดีเพราะน้ำจืดสนิท จึงแจ้งให้นายอินทร์ทราบพร้อมทั้งตกน้ำไปให้ดื่ม นายอินทร์ตื่นเต้นเหลือที่จะกล่าวจึงได้กราบขอขมาแล้วนิมนต์ขึ้นเรือสำเภามุ่งหน้าต่อไป

ครั้นเมื่อถึงราชธานีกรุงศรีอยุทธยา นายอินทร์ก็ได้พาเจ้าสามิรามไปจำพรรษาที่วัดแค หรือ ปัจจุบันคือวัดราชานุวาสซึ่งอยู่นอกเขตเมือง ในระหว่างศึกพระธรรมก็ได้มีโอกาสสร้างคุณงามความดีแก่ประเทศชาติจึงเป็นที่โปรดปรานของพระราชายิ่งนัก จึงโปรดเกล้าให้ดำรงสมณศักดิ์ พระราชมุนีสามีรามคุณปมาจารย์ ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งกาลเวลาล่วงเลยจนใกล้วัยชราภาพท่านจึงได้ถวายพระพรทูลลาเพื่อกลับภูมลำเนาเดิม แต่การเดินทางกลับครั้งนี้ท่านเดินทางกลับครั้งนี้ท่านเดินทางด้วยเท้าแบกกลดสะพายย่ามจาริกุดงค์มาเรื่อยๆ มืดที่ไหนปักกลดบำเพ็ญภาวนาที่นั้น เนิ่นนานจนกระทั่งเข้าสู่เขตเมืองนครศรีธรรมราชก็ได้ปักกลดพักแรมตามสถานที่หลายแห่ง อาทิที่ บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง (ปัจจุบันสถานที่นั้นสร้างเป็นศาลาหลวงพ่อทวด) และที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร (ปัจจุบันเป็นวัดหัวลำภูใหญ่) แล้วในที่สุดท่านก็ได้เดินทางมาถึงจุดหมายปลายทางจึงได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพะโค๊ะ ซึ่งชาวบ้านต่างพากันขนานนามท่านว่า “สมเด็จเจ้าพะโค๊ะ” ในระหว่างปกครองวัดพะโค๊ะท่านได้บูรณะพัฒนาวัดที่กำลังชำรุดทรุดโทรมให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองพร้อมทั้งให้ก่อสร้าง เจดีย์พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ มีตำนานจากทางด้านเขาอ้อ จ.พัทลุงกล่าวขานกันว่าเมื่อคราวที่สมเด็จเจ้าพะโค๊ะ จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ สมเด็จเจ้านอโม เจ้าสำนักวัดเขาอ้อซึ่งเป็นสหายธรรมได้นำพุทธบริษัทลงเรือแล่นสู่วัดพะโค๊ะเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง ครั้งเมื่อถึงฝั่งสมเด็จเจ้านอโม ก็แสดงปาฏิหาริย์เนรมิตให้เรือแล่นบนบกจนถึงยอดเขาวัดพะโค๊ะเป็นที่อัศจรรย์ นอกจากนี้ยังเล่าขานกันว่าทั้งสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ และสมเด็จเจ้านอโม ได้แลกเปลี่ยนประลองวิชากันอยู่เสมอดังเช่นสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ ฝากแตงโมให้ลูกศิษย์นำไปถวายสมเด็จเจ้านอโม ปรากฏว่าลูกศิษย์สำนักวัดเขาอ้อใช้มีดผ่าอย่างไรก็ไม่เข้าสมเด็จเจ้านอโม จึงใช้มือ ลูบๆ คลำๆ อยู่ครู่เดียวก็ใช้ฝ่ามือแทนมีดปรากฏว่าผ่าแตงโมได้อย่างง่ายคาย สมเด็จเจ้านอโมจึงแก้ลำฝากขนมข้าวเหนียวดำเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ให้ลูกศิษย์นำไปถวายสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ ก็เกิดเหตุการณ์ณ์เช่นเดียวกันคือใช้มีดผ่าอย่างไรก็ไม่เข้าแต่สมเด็จเจ้าพะโค๊ะ ใช้มือลูบไปลูบมาแล้วใช้ฝ่ามือผ่าเบาๆ ก็ขาดเป็นสองท่อน

ยังมีสามเณรผู้เคร่งพระวินัยรูปหนึ่ง ได้ตั้งอธิษฐานว่าก่อนชีวิตนี้จะสิ้นขอให้ได้เฝ้าเบื้อพระพักตร์ของพระศรีอาริย์โพธิสัตว์ คืนหนึ่งมีชายชรามาหาแล้วประเคนดอกไม้ให้ดอกหนึ่งแล้วกล่าวว่า “นี่คือดอกมณฑาทิพย์จากสรวงสวรรค์” สามเณรจงตามหาเถิด ถ้าพระภิกษุรูปใดรู้จักดอกมณฑาทิพย์นี้นั่นก็คือพระโพธิสัตว์จุติมาเกิด กล่าวจบชายชราผู้นั้นก็หายตัวไปสามเณรจึงรู้ว่าชายชราผู้นี้แท้จริงก็คือเทวดานั้นเอง สามเณรรอนแรมตามหาพระโพธิสัตว์ด้วยศรัทธาอันเปี่ยมล้นแต่ก็ต้องผิดหวังเพราะหามีพระภิกษุรูปใดรู้จักดอกมณฑาทิพย์นี้ จนกระทั่งในคืนหนึ่งสามเณรได้เดินทางมาถึงวัดพะโค๊ะ ขณะที่พระภิกษุกำลังทำสังฆกรรมในโบสถ์ จึงได้สอบถามว่าพระภิกษุทั้งหมดมีเท่านี้หรือ ก็ได้รับคำตอบว่ายังมีพระสมเด็จชราอีกรูปหนึ่งอยู่ในกุฏิ สามเณรไม่รอช้ามุ่งหน้าไปที่กฏิดังกล่าวทันที เมื่อสมเด็จเจ้าพะโค๊ะเห็นดอกไม้ในมือ สามเณรจึงเอ่ยขึ้นว่านั่นคือดอกมณฑาทิพย์จากสรวงสวรรค์ สามเณรขนลูซู่แน่ใจเต็มเปี่ยมว่า พระภิกษุชราเบื้องหน้าก็คือพระโพธิสัตว์ที่ตามหาจึงก้มกายลงกราบด้วยความปิติยินดี ในคืนนั้นเองชาวบ้านและพระภิกษุได้เห็นปรากฏอัศจรรย์บนท้องฟ้า เพราะมีดวงไฟกลมโตเท่าสัมเกลี้ยงสองดวงลอยวนทักษิณาวัตรสามรอบแล้วลอยหายลับไปทางทิศอาคเนย์ทั้งพระภิกษุและชาวบ้านได้พากันมาที่กุฏิ สมเด็จเจ้าพะโค๊ะแต่ท่านก็ไม่อยู่เสียแล้ว จึงลงความเห็นกันว่าทั้งสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ และสามเณร ปรากฏเป็นดวงไปจากไปเสียแล้ว ต่อมาได้มีพระภิกษุชราปรากฏกายขึ้นที่เมืองไทรบุรี (ปัจจุบันคือรัฐเคดาห์ประเทศมาเลเซีย) พระภิกษุรูปนี้ปราชญ์เปรื่องในทางธรรมและมากด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงเป็นที่เคารพนับถือของคนละแวกนั้นจึงขนานนามท่านว่า “ท่านลังกา” พร้อมทั้งนิมนต์ให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิเจติยาราม ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่านอกจากนี้ ในเวลานั้นท่านก็ยังได้เป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้อีกแห่งหนึ่ง จึงเดินทาง ไปๆ มาๆ ทั้งสองวัดซึ่งอยู่ห่างใกล้กันมาก สัญนิษฐานว่าท่านคงเดินทางด้วยเวทมนตร์ย่นระยะทางอยู่มาวันหนึ่งท่านลังกา ได้กล่าวกับศิษย์ทั้งหลายว่าเมื่อท่านมรณภาพแล้วก็ขอให้นำสังขารของท่านไปฌาปนกิจที่วัดช้างให้ด้วย หลังจากนั้นอีกไม่นานท่านก็ได้ละสังขารที่ วัดโพธิเจติยาราม เมืองไทรบุรี คณะศิษย์จึงได้นำสังขารของท่านมาฌาปนกิจที่วัดช้างให้ ตามเจตนาของท่านไม่ว่าจะ เป็นสมเด็จ เจ้าพะโค๊ะ ท่านลังกาดำ ท่าช้างให้ นามเหล่านี้ก็คือ หลวงพ่อทวดอมตะเถระผู้สร้างปาฏิหาริยิ์ย์เหยียบน้ำทะเลจืดจนเกิด ตำนานเล่าขานกันมาจนบัดนี้

พระหลวงพ่อทวด ขนาดบูชาหน้าตัก 9 นิ้ว, 5 นิ้ว



วัตถุมงคลทรงคุณค่า “รุ่น 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์” (หลักเมืองรุ่นพิเศษ) ได้จัดสร้างองค์ พระโพธิ์สัตว์หลวงพ่อทวด ขึ้นหลายพิมพ์ อาทิพิมพ์กลมสุริยันจันทราที่สร้างสรรค์แบบพิมพ์ได้อย่างประณีตสวยงามยิ่งนักทุกสรรพสิ่งปรากฏความหมายเกี่ยวกับ องค์ท่านครบถ้วน จัดสร้างเป็นเนื้อผงขนาด 5 ซ.ม. และเหรียญ ขนาด 3.2 ซ.ม. ผสมผสานมวลสารย้อนตำนานหลวงพ่อทวด ทุกแห่งที่กล่าวถึงในข้อความที่ผ่านมา นอกจากพิมพ์ทรงกลมที่สวยงานเลิศล้ำยิ่งได้สร้างพิมพ์เตารีด ทั้งเนื้อผงยาวาสนามหาจินดามณี เนื้อผงดินว่านมวลสารย้อนตำนาน และเนื้อโลหะรูปเหมือนลอยองค์ บัวรอบ รูปเหมือนขนาดบูชา 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว ทั้งเนิ้อสัมฤทธิ์ ซึ่งจะประกอบพิธีเททองนำฤกษ์ ณ วันหน้าพระบรมธาตุ ทั้งหมดครบทุกองค์ในพิธี และเนื้อทองเหลืองรมดำมันปู ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ย่อมเป็นหลักยืนยันได้ว่าวัตถุมงคลรุ่น “9รวม 9 พิธี 108 ปี ท่านพันธ์” (หลักเมืองรุ่นพิเศษ) เป็นวัตถุมงคล ทรงคุณค่ายิ่งบรรลุถึงคำว่า “สุดยอดแห่งวัตถุมงคล” อันควรค่าแก่การบูชาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว โดย เฉพาะอย่างยิ่งเป็นวัตถุมงคลหลวงพ่อทวดรุ่นแรก ที่ไดประกอบพิธพุทธภิเษกในศาลหลักเมือง นครศรีธรรมราช